ความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร ของ สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส)

ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 นั้นได้มีการเพิ่มอำนาจของฝ่ายบริหารมากขึ้นเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ (สาธารณรัฐที่ 3 และสาธารณรัฐที่ 4)[1]

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสนั้นสามารถใช้อำนาจตัดสินใจยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ โดยใช้เป็นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สมัชชาแห่งชาตินั้นไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งการยุบสภานั้นเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง การยุบสภาครั้งสุดท้ายนั้นเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีฌัก ชีรัก ในปีค.ศ. 1997 ภายหลังจากการขาดเสียงสนับสนุนที่เพียงพอต่อนายกรัฐมนตรีอาแล็ง ฌูว์เป อย่างไรก็ตามแผนการยุบสภาครั้งนี้นั้นทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีกเนื่องจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากนั้นกลับกลายเป็นฝั่งตรงข้ามแทน

สมาชิกสมัชชาแห่งชาติสามารถใช้อำนาจถอดถอนฝ่ายบริหาร (ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี) ผ่านการเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ (motion de censure) ซึ่งเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือพรรคร่วมฯในสมัชชาแห่งชาติ ในกรณีที่ประธานาธิบดีกับสมัชชาแห่งชาตินั้นมาจากพรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามกัน จะเกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่สถานการณ์การบริหารร่วมกัน "Cohabitation" ซึ่งเกิดขึ้นทั้งหมดสามครั้ง ย่อมทำให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างลำบาก ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประธานาธิบดีมีค่อนข้างมาก ดังปรากฏให้เห็นในปี 1997-2002 ที่ประธานาธิบดีฌัก ชีรัก (Jacques Chirac) เป็นฝ่ายขวา ในขณะที่นายกรัฐมนตรีลียอแนล ฌ็อสแป็ง (Lionel Jospin) รัฐบาลและเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติเป็นฝ่ายซ้าย ซึ่งต่อไปจะมีโอกาสเกิดน้อยลงภายหลังจากการปรับวาระของประธานาธิบดี และสมัชชาแห่งชาติให้อยู่ในช่วงเดียวกัน

การเสนอญัตติไม่ไว้วางใจนั้นเกิดขึ้นเป็นช่วงๆโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการแผ่นดินที่ไม่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่มักจะไม่สำเร็จ เนื่องจากสมาชิกพรรคการเมืองนั้นจะต้องทำตามมติพรรค เพื่อมิให้มีการถอดถอนฝ่ายบริหารได้จากสมัชชาแห่งชาติ และตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 5 นั้นมีการผ่านมติไม่ไว้วางใจสำเร็จเพียงครั้งเดียวในปีค.ศ. 1962 หลังจากความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของประธานาธิบดี[2] เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล ใช้อำนาจยุบสภาภายในไม่กี่วันต่อมา[3]

สมาชิกสมัชชาแห่งชาตินั้นสามารถตั้งกระทู้ และถามกระทู้สดเพื่อให้รัฐมนตรีมาตอบได้ โดยทุกวันพุธช่วงบ่ายจะเป็นช่วงเวลาการตั้งกระทู้สด ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์ ซึ่งชาวฝรั่งเศสมักจะเห็นว่าเป็นเพียงการแสดงเท่านั้น เนื่องจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะตั้งคำถามเชิงชม ในขณะที่ฝ่ายค้านนั้นมักจะตั้งคำถามเพื่อให้รัฐบาลขายหน้า[4]

ใกล้เคียง

สมัชชาแห่งชาติไทย สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส) สมัชชาแห่งชาติ (เกาหลีใต้) สมัชชาแห่งชาติ (การปฏิวัติฝรั่งเศส) สมัชชาแห่งชาติ (เวียดนาม) สมัชชาแห่งชาติกัมพูชา สมัชชาแห่งชาติแอฟริกัน สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส) http://maps.google.com/maps?ll=48.861899,2.318605&... http://www.lepetitjournal.com/homepage/expat/48389... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=48.8618... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://archives.assemblee-nationale.fr/1/cri/1962-... http://www.assemblee-nationale.fr/ http://www.assemblee-nationale.fr http://www.diplomatie.gouv.fr/fr/les-francais-etra... http://www.journal-officiel.gouv.fr/publication/20... http://www.legifrance.gouv.fr/WAspad/UnArticleDeCo...